ประกาศเมื่อ 06 มกราคม 2566, เปิดอ่าน 638ครั้ง
วิสัยทัศน์
“คุณภาพได้มาตรฐาน มีคุณธรรม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานความเป็นไทย”
พันธกิจ
พันธกิจ |
เป้าประสงค์ |
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเต็มศักยภาพ บนพื้นฐานความเป็นไทยทักษะการเรียนรู้เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21
|
1. ผู้เรียนมีคุณภาพและได้มาตรฐาน 2. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3. ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม |
2. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
|
3. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความเป็นไทยและทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง 4. ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินชีวิตตามหลัก ปศพ. |
3. ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
|
ผู้เรียนมีพฤติกรรมแสดงออกความเป็นผู้มีวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น |
4. พัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ |
สถานศึกษามีสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ |
5. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ |
5. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ |
6. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารการศึกษาให้ได้มาตรฐาน โดยเน้นการมีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล |
ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารแบบ มีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล |
7. ส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา |
สถานศึกษาสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสทางการศึกษาและความเท่าเทียม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 |
เป้าประสงค์ |
1. การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง |
1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความเป็นไทยและทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง 2. ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินชีวิตตามหลัก ปศพ. 3. ผู้เรียนมีพฤติกรรมแสดงออกความเป็นผู้มีวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น |
2. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับให้ได้มาตรฐาน |
4. ผู้เรียนทุกระดับมีคุณภาพและมาตรฐาน 5. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 |
3. การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ |
6. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
|
4. การสร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางการศึกษา |
7. ผู้เรียนที่มีต้องการจำเป็นพิเศษ มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม |
5. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
8. สถานศึกษามีสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ |
6. การพัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล |
9. ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ 10. ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารแบบมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาล 11. สถานศึกษาสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา |
เป้าประสงค์ |
ตัวชี้วัด |
1. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความเป็นไทยและทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง
|
1. ร้อยละของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ระดับดีขึ้นไป 2. ร้อยละของผู้เรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึง ความรักสถาบันหลักของชาติ |
2. ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
3. ร้อยละครู/ผู้ดูแลเด็ก ดำเนินชีวิตและเป็นแบบอย่างที่ดีในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4. ร้อยละของครูปฎิบัติตนปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของสถานศึกษา 5. ร้อยละของผู้เรียนประหยัดและอดออมนำไปใช้ให้เหมาะสมตามวัย
|
3. ผู้เรียนมีพฤติกรรมแสดงออกถึงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมที่ดี และสืบทอดประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น |
6. ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรม 7. ร้อยละของผู้เรียนที่แสดงออกถึงการสืบทอดประเพณีท้องถิ่นและภูมิปัญญา |
4. ผู้เรียนทุกระดับมีคุณภาพและมาตรฐาน |
8. ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านได้ระดับดี 9. ร้อยละของผู้เรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 มีผล การทดสอบระดับชาติสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ 10. ร้อยละของผู้เรียนระดับก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการ 4 ด้านได้ระดับดี 11. ร้อยละของสถานศึกษาที่ผลการประเมินมาตรฐานด้านที่ 3 ได้ระดับดีขึ้นไป 12. ร้อยละของผู้เรียนระดับชั้น ป.6, ม.3 และ ม.6 ที่มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ 13. ร้อยละของผู้ปกครองที่มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้เรียนในระดับดี |
5. ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 |
14. ร้อยละของผู้เรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขั้นพื้นฐานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ระดับดีขึ้นไป 15. ร้อยละของผู้เรียนที่มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรม 16.ร้อยละของผู้เรียนมีความสามารถ ใช้ภาษาอังกฤษ ได้เหมาะสมกับระดับชั้น |
6. ผู้เรียนที่มีต้องการจำเป็นพิเศษ มีความสามารถพิเศษได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม |
17. ร้อยละของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ 18. ร้อยละของเด็กที่มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามความถนัด |
7. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ |
19. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการประเมินตนเองผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด 20. ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผลการประเมินมาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนด ได้ระดับดีขึ้นไป 21. ร้อยละของครูและบุลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 22. ร้อยละของนักเรียนผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ที่มีความพึงพอใจต่อครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับดีขึ้นไป
|
8. สถานศึกษามีสื่อเทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ |
23. ร้อยละของครู ที่ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีขึ้นไป 24. ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและปลอดภัย 25. ร้อยละของครูที่จัดทำและใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมแหล่งการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้ 26. ร้อยละของนักเรียนที่มีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมแหล่งการเรียนรู้ ในการจัดการเรียนรู้ |
9. ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ |
27. ร้อยละของผู้บริหารมีความเป็นผู้นำทางวิชาการ 28.ร้อยละของผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา 29. ร้อยละผู้บริหารสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม 30. ร้อยละผู้บริหารสามารถมีส่วนร่วมกับชุมชน 31. ร้อยละผู้บริหารพัฒนาตนเองและวิชาชีพ |
10. ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารแบบมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาล |
32. ร้อยละของผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมโดยยึดหลักธรรมาภิบาล มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป 33. ร้อยละของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจในการบริหารงาน โดยยึดหลักธรรมาภิบาล |
11. สถานศึกษาสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา |
34. ร้อยละของสถานศึกษามีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่ดี
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาผู้เรียนและบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาความพร้อมของเด็กปฐมวัยรอบด้าน
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร
กลยุทธ์ที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของครูและบุคลากรทางศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างศักยภาพเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาพัฒนาคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาสื่อ และแหล่งเรียนรู้ให้อื้อต่อการเรียนรู้
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษา